LAZY EYE ( AMBLYOPIA )
หรือ ตาขี้เกียจ
ทำความรู้จักกับตาขี้เกียจ .. ทำไมยังมีคนเข้าใจผิดกับ Lazy eye ?
ตาขี้เกียจ เกิดจาก ตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือตา 2 ข้างไม่ได้รับการกระตุ้น ทำให้การพัฒนาของเซลล์ประสาทรับรู้การมองเห็นพัฒนาไม่เต็มที่ อ่อนแอลงและส่งผลต่อการมองเห็น ( เช่น เมื่อตาชัดข้างเดียว อีกข้างเบลอ สมองจะปิดกันการมองของตาข้างมัว ทำให้การรับรู้การมองเห็นของข้างนั้นอ่อนแอไป อะไรที่ไม่ได้ใช่งานก็ยิ่งฝ่อ )
....
*ความสามารถในการมองเห็น สามารถวัดได้จาก Visual Acuity หลังการแก้ไข้สายตาแล้ว โดยปราศจากโรคตาอื่นๆ ค่า ปกติ คือ 20/20 หมายความว่า เราอ่านแถวนั้นได้ที่ระยะ 20 ฟุต ในขณะที่คนสายตาปกติก็อ่านได้ที่ 20 ฟุต การมองเห็นเราอยู่ในระดับปกติ แต่หากตาข้างใดข้างหนึ่ง อ่านได้ดีที่สุด ที่ 20/30 มองผ่านรูเข็ม Pinhole ไม่ดีขึ้น นั่นหมายความว่า เราอ่านตัวอักษรได้ที่ระยะ 20 ฟุต ในขณะที่คนสายตาปกติอ่านได้ที่ระยะ 30 ฟุต นั่นคือการมองเห็นของเราแย่กว่าปกตินั่นเอง หรือตาข้างนั้นเป็นภาวะ ตาขี้เกียจ
….
ตาขี้เกียจแบ่งหลักๆ 3 สาเหตุ
1. Strabismus Amblyopia: ภาวะตาเหล่ตาเข เป็นปัญหาหลักที่ทำให้เกิดภาวะตาขี้เกียจ เมื่อตา 2 ข้างไม่มองไปแนวเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการมองภาพซ้อน สมองจะปิดกั้นภาพจากตาที่เป็นปัญหา ทำให้ตาข้างนั้นไม่ได้ถูกกระตุ้นให้ใช้งาน เกิดเป็นภาวะตาขี้เกียจ
2. Refractive Amblyopia : ปัญหาสายตา สั้น ยาว เอียง ที่ไม่ได้รับการแก้ไข สมองจะรับรู้ข้างที่ดี และปิดกันข้างเบลอไม่ให้ถูกพัฒนา
3. Deprivation Amblyopia : มีการปิดกั้นทางเดินของแสง ทำให้แสงผ่านได้ไม่เต็มที่ เช่น ต้อกระจกในเด็ก ( Congenital Cataract ) , หนังตาตก , หรืออุบัติเหตุ ,แผลที่กระจกตา โรคทางตาอื่นๆ ที่ทำให้แสงผ่านเข้าตาไม่ดี การมองเห็นไม่ได้รับการกระตุ้นที่ดี เกิดเป็นภาวะตาขี้เกียจ
...
โรคตาขี้เกียจเกิดในผู้ใหญ่ได้หรือไม่ ? ส่วนมากมักจะมีปัญหามาตั้งแต่วัยเด็กและไม่ได้รับการแก้ไข และไม่ได้เกิดหลังจากระบบการมองเห็นถูกพัฒนาเต็มที่แล้ว ( ระบบการมองเห็นยังพัฒนาตั้งแต่แรกคลอดไปจนอายุไม่เกิน 9 ขวบ ) แต่เพิ่งมาเจอเมื่อตอนโตแล้ว อาจทำเข้าใจผิดได้ว่าเกิดภายหลังได้
ฉะนั้นการรักษาภาวะตาขี้เกียจ ต้องได้รับการกระตุ้นการมองเห็นตั้งแต่อายุยังน้อย หากหลัง 9 ขวบจะทำได้ไม่ดีแล้ว และการมองเห็นก็จะกลับคืนมาได้ไม่เต็มที่ นั้นคือไม่สามารถรักษาตอนโตได้แล้ว
*มีหลายครั้งที่เจอเคสแจ้งว่าเป็นตาขี้เกียจ แต่เมื่อตรวจวัดสายตาและให้ค่าถูกต้องการมองเห็นก็อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่มีตาขี้เกียจ ( ต้องได้รับการตรวจที่ถูกต้องก่อนจะวิเคราะห์ว่าเป็นตาขี้เกียจหรือไม่ )
*อย่ามองข้ามปัญหาสายตาของเด็กๆ ไม่ว่าจะก่อนวัยเรียนหรือวัยเรียน การแก้ไขตั้งแต่เด็ก ไม่ว่าจะแว่นสายตา , ปิดตาข้างชัดใช้ตาข้างมัว , ผ่าตัดเมื่อมีภาวะตาเข , หนังตาตก ให้การมองเห็นได้รับการกระตุ้นได้ปกติ
*หากตรวจพบไว จะได้ส่งต่อให้จักษุแพทย์แก้ไขได้ไว ก่อนจะสายเกินแก้