ตาล้า
EYE STRAIN
EYE STRAIN
𝐄𝐲𝐞 𝐒𝐭𝐫𝐚𝐢𝐧 : ตาล้า
เมื่อเรามีอาการตาล้า ตาของเราจะมีอาการเหนื่อยล้า , เคืองตา , ปวดเมื่อยตา ยิ่งใช้สายตากับการมองระยะใกล้นานๆ ไม่ว่าจะอ่านหนังสือ ดูหน้าจอนาน ก็ทำให้มีอาการเหล่านี้ได้ หรือแม้แต่ผู้ที่มีอาการตาแห้ง ( 𝗗𝗿𝘆 𝗘𝘆𝗲 ) , คนที่มีปัญหาสายตา ปัญหาของกล้ามเนื้อตา ฟังชั่นการทำงานของตา ที่ไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะมีประสบการณ์กับอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน
อาการตาล้าบางครั้งจะคงอยู่ชั่วครู่ หรืออาจจะอยู่นานหลายชั่วโมง หากใช้สายตากับระยะใกล้ โฟกัสสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นเวลานานโดยไม่พักสายตา
บางครั้งปวดตา ล้าตา พักผ่อนดีขึ้น ใช้สายตาก็กลับมาเป็นซ้ำบ่อยๆ อาจมีปัญหาของกล้ามเนื้อตา ที่ส่งผลต่อกำลังการเพ่งซ่อนอยู่
อาการที่พบได้ :
- ตาแห้ง
- ปวดตา ล้าตา
- คันตา แสบตา
- หนังตากระตุก
- โฟกัสยาก
- มองภาพมัว ภาพซ้อน
- แพ้แสง
สาเหตุ : โดยทั่วไปเกิดจาการใช้งานหนักของกล้ามเนื้อตา โดยเฉพาะ 𝘾𝙞𝙡𝙞𝙖𝙧𝙮 𝙢𝙪𝙨𝙘𝙡𝙚 กล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาทำหน้าที่ช่วยเลนส์ตาปรับโฟกัสในการมองระยะต่างๆ เมื่อเราใช้สายตาเพ่งมองนานๆ ไม่ว่าจะดูใกล้ อ่านหนังสือ ทำงานหน้าคอม แสงสีฟ้าจากหน้าจอดิจิตัล หรือแม้ขับรถทางไกลเป็นเวลานาน ก็ทำให้เกิดอาการตาล้าได้
..........................
การวินิจฉัย แยกอาการตาล้า
ปกติทัศนมาตรหรือหมอสายตา จะต้องทำการซักประวัติ ตรวจเช็คสุขภาพตาเบื้องต้น ตรวจวัดปัญหาสายตา และการทำงานร่วม รวมถึงกำลังการเพ่งของตาอย่างละเอียด เพื่อวินิจฉัยอาการตาล้า ว่าเกิดจากปัญหาสายตา สั้น ยาว เอียง สายตายาวตามวัย หรือจากความผิดปกติของการทำงานร่วมของสองตา กล้ามเนื้อตา
เพราะบางครั้งภาวะอื่นๆก็ทำให้มีอาการของตาล้าได้ เช่น
- ไมเกรน 𝗠𝗶𝗴𝗿𝗮𝗶𝗻𝗲𝘀 ทำให้มีอาการปวดตา ล้าตา แพ้แสง ปวดศีรษะ อาการของไมเกรนอาจถูกกระตุ้นจากภาวะตาล้า ปวดตาได้ และการพักแค่สายตาก็ไม่ได้ช่วยให้ไมเกรนดีขึ้น เท่ากับการทานยาบรรเทา
....................
การป้องกันตาล้า:
- พักสายตา สำคัญ เมื่อใช้สายตาระยะใกล้ , จ้องหน้าจอนานๆ อย่าลืม กฎ 20-20-20 ทุก 20 นาที อย่าลืมพักตามองไประยะไกล 20ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที อย่าลืมกระพริบตาบ่อยๆ
- ปรับแสงสว่างหน้าจอให้พอดีกับความสว่างห้อง หลีกเลี่ยงใช้สายตาจ้องหน้าจอขณะปิดไฟ
- การปรับขนาดของตัวอักษรบนจอคอมพิวเตอร์ , มือถือให้พอดี ไม่เล็กเกินไป
- หากมีอาการล้าตาบ่อยๆ อาจบ่งชี้ถึงปัญหาของสายตา อย่าลืม นัด ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจเช็คสายตาอย่างละเอียด